หลังจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้เปิดตัวบริการ Microsoft 365 Copilot ที่มีความสามารถในการสร้างการรับรอง Spreadsheet, Presentation, Document และอื่นๆ
และ Microsoft (ไมโครซอฟท์) ได้เดินหน้ามุ่งให้ทั่วโลกได้มีโอกาสในการใช้งาน Microsoft 365 Copilot มากยิ่งขึ้น
อีกทั้ง ยังได้ถือโอกาสเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกจากงานวิจัย “Work Trend Index (ดัชนีแนวโน้มการทำงาน)” ฉบับล่าสุดปี 2023 ที่ได้เจาะลึกมุมมองการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในวัยทำงานยุค AI ภายใต้หัวข้อ “Will AI Fix Work?”
โดยในงาน Work Trend Index 2023 ได้รวบรวมสำรวจข้อมูลผู้บริหารและพนักงานกว่า 31,000 คนในอุตสาหกรรมต่างๆ กว่า 31 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยและตลาดอื่นๆ อีก 13 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอื่นๆ อีกเช่น
- การประมวลข้อมูลที่เก็บรวบรวมมานับล้านรายการจาก Email, การประชุมออนไลน์, และระบบแชทใน Microsoft 365
- แนวโน้มตลาดแรงงานจาก LinkedIn
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่าการทำงานในปัจจุบันต้องการความรวดเร็วในระดับที่เกินกว่าพนักงานจะตามทัน โดยส่งผลกระทบต่อความสามารถของพวกเขาในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับองค์กร
การมาถึงของ AI นั้นส่งผลให้วิธีการทำงานของเราต้องเปลี่ยนไปในทุกด้าน จากเดิมที่มีระบบอัตโนมัติทั่วไปในการทำงาน มาเป็นระบบผู้ช่วยที่ทำงานร่วมกับมนุษย์อย่างชาญฉลาด
รายงาน Work Trend Index 2023 ระบุว่าพนักงานไทยถึง 86% ยินดีที่จะมอบให้ AI ทำงานแทนให้ได้มากที่สุดเพื่อลดภาระงาน “สุภาณี อนุวงศ์วรเวทย์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานการตลาดและปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าว”
รายงาน Work Trend Index 2023 ชี้ให้ผู้นำธุรกิจเห็นถึงข้อสรุปที่สำคัญ 3 ประการใหญ่ๆ ในการทำความเข้าใจและนำ AI มาใช้ในองค์กรอย่างถูกต้องเหมาะสม
1. Digital debt is costing us innovation (หนี้ดิจิทัลทำให้เราต้องสูญเสียนวัตกรรมใหม่ๆ) : Microsoft เล็งเห็นโอกาสในการทำให้การสื่อสารมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เพราะยิ่งเสียเวลาไปกับภาระ Digital debt มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้พนักงานไม่มีเวลาใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเท่านั้น เช่น
- พนักงานในประเทศไทย 89% รู้สึกว่าพวกเขาไม่มีเวลาและพลังงานมากพอที่จะทำงานให้เสร็จ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีโอกาสสูงที่จะเจอกับอุปสรรคเมื่อต้องลงมือสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยตนเอง
- ข้อมูลเวลาทำงานใน Microsoft 365 ชี้ว่าโดยเฉลี่ยพนักงานใช้เวลาทำงาน 57% ไปกับการติดต่อประสานงาน
- 43% สร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้น ส่วนอุปสรรคอันดับหนึ่งที่ขัดขวางประสิทธิผลในการทำงานก็คือการประชุมที่ไร้ประสิทธิภาพ
2. There’s a new AI-employee alliance (AI พร้อมเป็นพันธมิตรคู่ใจในการทำงาน) : จากข้อมูลพนักงานส่วนใหญ่มีความสนใจกับบทบาทของ AI ในการแบ่งเบาภาระงาน มากกว่าที่จะกังวลว่าตนเองจะถูกแทนที่จนตกงาน โดยผู้บริหารส่วนใหญ่ก็มีความตั้งใจที่จะนำ AI มาสนับสนุนพนักงานให้ทำงานได้ดีขึ้น แทนที่จะมาทำงานแทนมนุษย์ โดยข้อมูลประเทศไทยมีดังนี้
- 66% ของพนักงานที่เข้าร่วมการสำรวจยังมีความกังวลว่าจะถูก AI แย่งงาน
- 86% ที่พร้อมจะแบ่งงานให้ AI ช่วยให้ได้มากที่สุดเพื่อแบ่งเบาภาระงาน
- 9 ใน 10 มั่นใจว่าพร้อมแบ่งงานที่ซับซ้อนให้ AI เข้ามาช่วยทำ โดยไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เอกสารหรือธุรการทั่วไป
- ในระดับผู้บริหารพบว่า มีกลุ่มที่สนใจนำ AI มาใช้เสริมประสิทธิภาพในที่ทำงานเป็นจำนวนที่สูงกว่ากลุ่มที่มุ่งลดจำนวนพนักงานด้วย AI ราว 1 ใน 3
3. Every employee needs AI aptitude (พนักงานทุกคนต้องการความเชี่ยวชาญ AI) : แน่นอนว่าพนักงานทุกคนต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เช่น การวางโครงสร้างและเขียนคำสั่งสำหรับ AI (prompt engineering) แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน AI เท่านั้น
- ผู้บริหารในไทยกว่า 90% คาดว่าพนักงานจะต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในยุค AI
- พนักงานไทยกว่า 86% ระบุว่าพวกเขายังขาดความสามารถที่เหมาะสมในการทำงานให้สำเร็จ
ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่าทักษะใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญด้าน AI จะเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน พร้อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้างนับตั้งแต่แนวทางการเขียนเรซูเม่ไปจนถึงประกาศรับสมัคร
ทั้งนี้ ในโอกาสนี้ ไมโครซอฟท์ได้ประกาศโครงการ Microsoft 365 Copilot Early Access เพื่อให้ลูกค้าในกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ 600 รายทั่วโลกได้มีโอกาสใช้งาน AI ในภาคธุรกิจ
สามารถอ่านข้อมูลฉบับเต็มได้ที่นี่
---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—
ข้อมูลจาก : microsoft.com / sanook.com