29 พ.ค. 2566 ได้มีการประกาศรางวัลหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประกวดเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ตามมาตรฐาน Web Content Accessibility Guidelines (WCAG) ประจำปี 2566 โดยเว็บไซต์ www.thaipbs.or.th สามารถคว้ารางวัลนี้ได้
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล สะท้อนถึงการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะของประชาชนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง!
นายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านเทคโนโลยีการกระจายสื่อ พร้อมด้วยนางสาวกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล เป็นตัวแทนองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส เข้ารับรางวัลหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประกวดเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ประจำปี 2566
โดยได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 50 หน่วยงานจาก 121 ผลงาน โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดงาน
ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เพื่อสร้างแรงจูงใจและความตระหนักรู้ให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนพัฒนาเว็บไซต์
ที่ให้ทุกคนเข้าถึงได้ตามหลักเกณฑ์ ที่มี 13 องค์ประกอบในการตรวจสอบเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ พร้อมกับโปรแกรมในการทดสอบ รวมถึงได้รับการตรวจโดยคนพิการโดยตรง
นายอนุพงษ์ เปิดเผยว่า ในปัจจุบันนี้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ องค์ความรู้และบริการผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สามารถทำได้สะดวกมากขึ้น หากเพียงแต่ว่าอีกมุมหนึ่งของสังคมยังมีผู้ที่ไม่สามารถเข้าใช้งานเว็บไซต์หรือใช้งานได้ไม่สะดวก เช่น
- คนหูหนวก
- คนสายตาเลือนราง
- คนตาบอด
- และอื่นๆ
ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและอุปสรรคในการติดตามข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
ด้านไทยพีบีเอสตระหนักถึงผลกระทบที่มาจากความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล (Digital Divide) จึงมุ่งส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับคนพิการ เช่น
- การพัฒนาเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม
- เพิ่มความรู้ความเข้าใจเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ไทยพีบีเอส
เพื่อให้มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ทุกคนทั้งผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงตามมาตรฐาน WCAG ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม นายอนุพงษ์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า… ไทยพีบีเอสยังมุ่งมั่นการเป็นสื่อที่เชื่อถือได้ ภายใต้แนวคิดหลัก “สื่อสาธารณะ คุณค่าที่ยึดโยงกับประชาชน” โดยให้ความสำคัญ เช่น
- การนำเสนอข่าวที่ถูกต้อง
- การเป็นพื้นที่ในการนำเสนอเนื้อหาที่จะร่วมเป็นทางออกของสังคมไปด้วยกัน
- เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เข้าถึงข่าวสาร ความรู้ สาระประโยชน์ และสาระบันเทิง ได้อย่างเท่าทันและเท่าเทียมไปด้วยกัน
ทั้งนี้ ด้วยบริบทการเสพสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล ทำให้วิธีการสื่อมีความหลากหลาย ดังนั้น นอกจากไทยพีบีเอสจะพัฒนาเว็บไซต์ให้รองรับการเข้าถึงในทุกกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังเติมเต็มด้วยการพัฒนา Content และใช้เทคโนโลยีผสมผสานให้เกิดนวัตกรรมสื่อกลุ่มเปราะบาง เช่น
บริการ Big Sign ภาษามือ ใหญ่เต็มจอ
- แนะนำบริการ https://youtu.be/70nFc-DVF6k
- บทสัมภาษณ์ทำไมต้องเป็น Big Sign https://youtu.be/_vHUZ-wDZQ0
- แนะนำบริการช่วงโควิด-19 https://youtu.be/R88i6m_kxGI
- Feedback จากคนหูหนวก https://youtu.be/o8Ci8S4_fxI
- บริการ อ่านข่าวให้ฟัง - Text to Speech ทำงานอย่างไร? https://youtu.be/XQ-i81TipZE
- Thai PBS Podcast - รู้จักกับไทยพีบีเอสพอดคาสต์ https://youtu.be/D7LoQoDxWsk
สามารถติดตามทุกผลงานได้ทาง ไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3 และทางออนไลน์
- Website www.thaipbs.or.th
- Application Thai PBS, VIPA
- Social Media Thai PBS [Facebook, YouTube, Twitter, LINE, TikTok, Instagram]
บทความที่เกี่ยวข้อง
---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—
ข้อมูลจาก : ryt9.com / sanook.com